สุนัขป่วย กับการปฐมพยาบาลและการดูแล
การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่สุนัขป่วย เพื่อลดการบาดเจ็บและความรุนแรงของอาการ
Home / การฝึกสุนัข

การปฐมพยาบาลสุนัขป่วย
เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่สุนัข เพื่อลดการบาดเจ็บ และความรุนแรงของอาการ รวมถึงอาจช่วยชีวิตสุนัขได้ในกรณีฉุกเฉินก่อน หรือในระหว่างที่กำลังนำ สุนัขป่วย ส่งสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตามการเสียเวลากับการปฐมพยาบาลมากเกินความจำเป็นก็อาจเป็นผลเสียได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ ต้องทำต่อไปโดยเร็วคือการส่งให้ถึงสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด
ถึงแม้ว่าสุนัขมีคุณสมบัติในการฟื้นตัวจาก การเจ็บป่วยได้มากเมื่อเทียบกับมนุษย์ แต่เจ้าของ สุนัขก็ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การเจ็บป่วยหายได้ รวดเร็วขึ้น โดยการเอาใจใส่ดูแลที่ดีของเจ้าของ จัด ให้สุนัขป่วยอยู่ในสภาวะที่สะดวก สบาย และ เหมาะสม
สิ่งสำคัญที่สุด 3 อย่างที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ
- การได้พักผ่อนและความสะดวกสบาย
- การได้รับอาหารและนํ้าอย่างพอเพียง
- ได้รับยาครบตามที่สัตวแพทย์สั่ง
โดยให้สุนัขป่วยได้พักในสถานที่ที่อบอุ่น และเงียบสงบ ไม่ร้อนหรือ เย็นเกินไป มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ปล่อยให้สุนัขได้ออกจากบ้านได้ บ่อยกว่าปกติเพื่อถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกระตุ้น การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร แต่ต้องระวังไม่ให้ออกกำลังกายหนักๆ หรือ เล่นเกมที่ตื่นเต้นมากเกินไป
ลมโกรกและอากาศเย็นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ พื้นบ้านบริเวณที่สุนัขนอน ควรมีสิ่งรองนอนเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
การให้อาหารควรให้คราวละน้อยๆ แต่บ่อยๆ อาหารควรเป็นชนิดที่ ย่อยง่าย มีรสชาดและกลิ่นหอมน่ากินเพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร แต่ใน บางกรณี เช่น มีอาการท้องเสีย อาเจียน อาจจำเป็นต้องงดอาหาร หรือในบางครั้งถ้าจำเป็นจริงๆสุนัขไม่ยอมกินอะไรเลยอาจจะต้องป้อน (Force feeding) โดยการเลือกอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ ป้อนเข้าปากในวิธีการเดียวกับการป้อนยาเม็ด หรืออาจให้อาหารเหลวในวิธีการเดียวกับการป้อนยานํ้า แต่ต้อง ระมัดระวังค่อนข้างมาก และต้องแน่ใจว่าสุนัขกลืนอาหารได้ไม่อย่างนั้นแล้ว อาหารเหลวอาจจะถูกสำลักเข้าไปในปอดได้
ในกรณีที่สุนัขไม่ยอมกินอาหารและน้ำเลย อาจใช้กลูโคสละลายน้ำ หรือใช้นมป้อน (ยกเว้นในรายท้องเสียห้ามป้อนนมเด็ดขาด) โดยประมาณว่า สุนัขควรได้รับน้ำอย่างน้อย 50 มิลลิลิตรต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งควรจะแบ่งให้ครั้งละน้อยๆ เช่น 4 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ควรหยดวิตามินรวม สำหรับเด็ก (multi-vitamin for children) 5-10 หยดลงในสั่งที่ป้อนด้วย ถ้าจะให้ดีกว่านี้ควรปรึกษาลัตวแพทย์เพื่อจะได้วางแผนในการเลือกชนิดอาหารให้ เหมาะสมกับโรคและการรักษาควรคู่ไปด้วย
- ประเมินอาการ
- ช่วยผายปอดในกรณีสุนัขหยุดหายใจ
- ช่วยนวดหัวใจ ในกรณีหัวใจหยุดเต้น
- ห้ามเลือด
- หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนส่วนที่หักหรือบาดแผล
ควรสังเกตสิ่งต่อไปนี้เพื่อประเมินอาการของสุนัข ก่อนลงมือให้ความ ช่วยเหลือ
- ถ้าสุนัขยังมีสติ ควรจะสังเกตถึงบาดแผลว่าต้องมีการห้ามเลือด
หรือไม่
- ถ้าสุนัขหมดสติ ควรรบดูสิ่งต่อไปนี้ก่อน
- การหายใจ โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก
- การเต้นของหัวใจ สามารถทำได้2 อย่างคือ
- ใช้ฝ่ามือแตะลงไปบริเวณหน้าอกในตำแหน่งของหัวใจ (ตรงกับปุมของข้อศอก)
- ใช้การคลำจับชีพจรที่บริเวณโคนขาหลังด้านใน
- ตรวจดูการตอบสนอง
- การตอบสนองของตา
- หนังตา โดยใช้นิ้วแตะที่หัวตาเบาๆ ดูว่าสุนัขกระพริบตาหรือไม่
- ม่านตา โดยใช้ไฟฉายส่อง เมื่อโดนแสง ช่องม่านตา ควรจะหดเล็กลง
- การตอบสนองของปลายเท้า โดยการหยิกบริเวณอุ้งเท้า (ผิวหนังระหว่างง่ามนิ้วเท้า) สังเกตลูว่าสุนัขชักเท้าหนี หรือไม่
ในกรณีอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ อาจทำให้เกิดภาวะการหายใจและ การทำงานของหัวใจล้มเหลว ซึ่งจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการทำให้หัวใจเต้นใหม่ และสุนัขหายใจได้ด้วยตัวเองโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้น โอกาสรอดจะน้อยมาก เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง และเกิดการเสียหาย ของเนื้อเยื่อสมอง
ขั้นตอนในการปฏิบัติมี 3 ขั้นตอน
- เปิดทางเดินหายใจ (Airway) เป็นการช่วยทำให้สุนัขหายใจได้ สะดวกขึ้น โดยการจับสุนัขนอนตะแคงและจัดคอให้ยืดตรง เปิด ปาก ดึงลิ้นออกจากปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ม้วนลงไปอุดหลอดลม แล้วล้วงเอาสิ่งแปลกปลอม (เช่นนํ้าลาย เสมหะ หรือเลือด) ออกจากช่องปากและคอหอย
- ช่วยหายใจ (Breathing) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก กับภายในปอด และกระตุ้นให้สุนัขหายใจเอง โดยใช้มือรวบรอบจมูกและปาก เป่าลมเข้าไปในช่องจมูกนาน 3 วินาที (สังเกตว่าช่องอกควรขยายขึ้น) หยุดพัก 2 วินาที (ในกรณีที่หัวใจยังเต้นอยู่) และทำซํ้า
- นวดหัวใจ (Cardiac) เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นใหม่ โดยการวางมือบนอกสุนัขหลังข้อศอก (ตำแหน่งของหัวใจ) แล้ววางมืออีกข้างทับ แล้วกดมือทั้งสองลงโดยเอนตัวไปข้างหน้า ทำติดต่อกัน 6 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 วินาที (ในกรณีสุนัขเล็กไม่สามารถวางมือบนอกได้ ให้ใข้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือวางบนอกคนละข้างแล้วบีบเป็นจังหวะ) เมื่อนวดหัวใจจนครบ 6 ครั้งแล้ว ให้ผายปอดโดยวิธี ปากต่อจมูก 1 ครั้ง ทำเช่นนี้สลับกันไปจนกว่าหัวใจจะเต้นแล้วจึง ผายปอดอย่างเดียวจนกว่าสุนัขจะหายใจได้เอง
จะเห็นได้ว่าการช่วยชีวิตนั้นก็คือการที่เราช่วยทำงานแทนสุนัขเพื่อให้ มีออกซิเจน และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ในขณะที่สุนัขไม่สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง เราต้องทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งหัวใจสามารถเต้นได้เอง และสุนัขหายใจได้เอง
ในกรณีการนวดหัวใจดำเนินไปแล้วไม่น้อยกว่า 10 นาที แต่หัวใจยัง ไม่เต้นเอง เราอาจจะตัดสินใจหยุดทำการช่วยชีวิตไต้ ส่วนในกรณีที่หัวใจเต้น อยู่แต่ยังไม่หายใจ เราควรจะช่วยผายปอดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงมือลัตวแพทย์
กรณีนี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเนื่องจากสุนัขสามารถว่ายนํ้าได้โดย สัญชาตญาณ แต่ในบางครั้งอาจพบในรายที่ป่วยไม่มีแรงแล้วพลัดตกนํ้า หรือใน รายที่ว่ายออกไปจากฝังไกลๆแล้วหมดแรงว่ายกลับเข้ามา
การช่วยเหลือ
- เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากปากและ คอหอยให้หมด
- เอาหัวห้อยลงเพื่อให้นํ้าไหลออกจาก ปอด ในสุนัขเล็กอาจจับขาหลังสอง ข้างยกชูขึ้น และเหวี่ยงเบาๆ ส่วน สุนัขขนาดใหญ่ให้วางหัวสุนัขต่ำกว่าลำตัว ยกขาหลังขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลานานอย่างน้อย 30 วินาที
- ทำการผายปอดจนกว่าสุนัขจะหายใจ ได้เอง และนำส่งลัตวแพทย์
- นำสุนัขออกไปสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ และการถ่ายเทอากาศดี
- ถ้าสุนัขหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการช่วยชีวิต
- นำสุนัขส่งลัตวแพทย์อย่างเร่งด่วน
ถ้าสุนัขไม่สามารถลุกเดินเองได้ให้ใช้ผ้าห่มหรือแผ่นกระดานค่อยๆ สอดเข้าด้านล่างของตัวสุนัขทำเป็นเปลสำหรับหาม ถ้าสุนัขเดินเองได้ก็ช่วยประคองส่วนอก และบั้นท้ายให้สุนัขเดินไปอยู่ ในที่ปลอดภัย หรืออาจใช้’วิธีอุ้มโดยช้อนส่วนอกและบั้นท้าย ควรหันด้านที่มี แผล บาดเจ็บ หรือขาข้างที่หักออกจากตัวผู้อุ้ม
ข้อควรคำนึง สุนัขที่ประสบอุป้ติเหตุอาจได้รับความกระทบกระเทือน ภายในทำให้มีการตกเลือดภายใน โดยที่ไม่มีแผลที่สังเกตได้จากภายนอก
บาดแผลที่มีเลือดสีแดงสดพุ่งออกมาแสดงถึงเส้นเลือดแดงฉีกขาด ต้องรีบทำการห้ามเลือดเพื่อป้องกันการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ส่วนเลือดสีแดงคลํ้าค่อยๆ ซึมเยิ้มออกมาแสดงถึงการฉีกขาดของเส้นเลือดดำ ซึ่งมักจะง่ายต่อการห้ามเลือดมากกว่า อย่างไรก็ตามในกรณีที่พบว่ามีเลือดออกต้องนำส่งสัตวแพทย์โดยด่วนไม่ว่าจะทำการห้ามเลือดแล้วหรือไม่ก็ตาม
การห้ามเลือดสามารถทำได้โดยการใช้มือกำรอบเหนือบริเวณแผลซึ่งเป็นการห้ามเลือดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน หรือการใช้แรงกดที่บริเวณแผล 3-5 นาที อาจใช้นี้วมือกดได้ในกรณีที่แผลไม่ใหญ่มากและสุนัขไม่แว้งกัด ถ้าจะให้ ดีควรใช้การพันผ้ากดแผล (Pressure bandage) ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ผ้าก๊อซ (gauze) ผ้ห้เาย ผ้าเช็ดหน้า พับให้เป็นแผ่นวางปีดไว้ที่แผล ก่อนวางผ้าปิดที่แผลควรทาแผลด้วยครีมทาแผลสดเพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลแห้งติดกับ บาดแผลในภายหลัง จากนั้นใช้ผ้าพันทับไวให้กระชับไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ในกรณีที่เลือดออกจนชุ่มผ้าผืนแรก ให้ใช้ผ้าอีกผืนวางทับไปอีกชั้นหนั้ง โดยไม่ต้องเอาผ้าผืนแรกออก เพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนขบวนการแข็งตัว ของเลือด หลังจากพันแผลเสร็จแล้วต้องคอยสังเกตว่าอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าจุดที่พันแผลลงไปมีอาการบวมหรือไม่ ถ้าบวมแสดงถึงการพันแน่นเกินไป จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ ควรคลายผ้าพันแผลออกเล็กน้อย ถ้ายังไม่หายบวมต้องถอดผ้าพันแผลออก
นอกจากการพันแผลแล้ว การห้ามเลือดอีกวิธีหนึ่งที่อาจใช้ได้ก็คือการ ขันชะเนาะ (Tourniquets) ซึ่งมักจะใช้ในกรณีมีเลือดออกมากบริเวณปลายขา โดยขันชะเนาะที่เหนือบาดแผล การขันชะเนาะจะต้องมีการคลายทุกๆ 10 นาที เพื่อเปิดโอกาสให้เลือดได้ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายขาได้ ถึงแม้จะมีการคลาย บ่อยๆ แต่บางครั้งก็ยังมีโอกาสจะเกิดการเสียหายของเนื้อเยื่อเนื่องจากการขาดเลือด ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องรีบนำไปพบลัตวแพทย์โดยด่วน ในสุนัขส่วนใหญ่มักจะไม่ยินยอมให้ขันชะเนาะ ดังนั้นการใช้ผ้าพันกดทับแผลจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้มากกว่า
ให้สังเกตว่าเป็นเลือดออกจากบาดแผลหรือเป็นเลือดกำเดา ถ้าเป็นเลือดจากบาดแผลก็อาจใช้นิ้วหัวแม่มือกดห้ามเลือด ถ้าเป็นเลือดกำเดาให้ใช้ผ้า ชุบนํ้าเย็นหรือผ้าห่อก้อนนํ้าแข็งวางโปะบนสันจมูก ถ้าสุนัขไม่ยินยอมหรือ แสดงอาการหงุดหงิดควรจะหยุดกระทำการห้ามเลือดไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ สถานการณ์แย่ลงไปอีก ควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันทีเนื่องจากเลือดกำเดา ไหลอาจมีสาเหตุได้ตั้งแต่เส้นเลือดแดงในโพรงจมูกแตก มีสิ่งแปลกปลอมใน โพรงจมูก หรือรุนแรงจนถึงเป็นเนื้องอก และการได้รับสารพิษกลุ่มที่ทำลาย เม็ดเลือด เช่น warfarin poisoning
เป็นกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะที่ ปริมาณเลือดไม่มีเพียงพอกับการไหลเวียนไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ (โดยเฉพาะที่บริเวณอวัยวะส่วนปลาย) ชั่วขณะ เกิดการส้มเหลวในการควบคุมความดันและ การไหลเวียนเลือด และสุดท้ายหัวใจก็จะหยุดเต้น
สาเหตุของ Shock
- การได้รับบาดเจ็บรุนแรง (ตกจากที่สูง, รถชน, ถูกเตะ ฯลฯ)
- เสียเลือดมาก
- ท้องเสียรุนแรง
- อาเจียนรุนแรง
- ถลอก, ฟกชํ้าอย่างรุนแรง
- เลือดเป็นพิษ (จากการติดเชื้อ หรือสารพิษต่างๆ)
- ท้องอืด (bloat) เนื่องจากกระเพาะอาหารบิดตัว
- โรคหัวใจระยะท้ายๆ
อาการ
เหงือกซีด เย็น, หายใจเร็วแผ่ว, ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา, สุนัขอาจนอน แน่นิ่ง หมดสติ อุณหภูมิร่างกายลด ตา ปลายเท้าและใบหูเย็น ลิ้นเหี่ยวแห้งย่น
การช่วยเหลือ
- ควรปลอบให้สุนัขสงบ และห่มผ้าให้อบอุ่น
- ห้ามให้นํ้าหรืออาหารเด็ดขาด
- นำส่งสัตวแพทย์อย่างรีบด่วน
เนื่องจากผิวหนังสุนัขมีขนปกคลุมทำให้เราสังเกตความเสียหายของ เนื้อเยื่อเนื่องจากไฟไหม้ นํ้าร้อนลวกได้ไม่เด่นชัด ถ้าไม่คลี่ขนหรือตัดขนออก แผลไฟไหม้นํ้าร้อนลวกที่กินบริเวณกว้างบนร่างกายอาจเป็นสาเหตุให้เกิด อาการอื่นๆ ตามมา เช่น shock ขาดนํ้า (dehydration) หรือมีการติดเชื้ออย่าง รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นแผลที่สร้างความเจ็บปวดรุนแรงให้กับสุนัขมาก การสัมผัสบริเวณแผลจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวัง
การรักษา
หลักในการรักษาคือลดความเสียหายของเนื้อเยื่อโดยการใช้ความเย็น ทันที เป็นเวลาประมาณ 5-15 นาที ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- ราดบริเวณนั้นด้วยนํ้าเย็นหรือจับสุนับจุ่มลงในนํ้าเย็นทันที
- เปิดนั้าก๊อกให้ไหลผ่านบริเวณนั้นเบาๆ
- ให้ผ้าชุดนํ้าเย็นประคบ แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดการถูหรือขูดบริเวณแผล
ข้อพึงระวัง
- ห้ามถูบริเวณแผลเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น
- ห้ามทาครีม หรือเจลทาแผล เพราะจะทำให้ความร้อนคั่งค้างอยู่ ซึ่ง เป็นการเพิ่มความเสียหายของเนื้อเยื่อ ยิ่งไปกว่านั้นสุนัขจะเสียสิ่งที่ เราทาแผล จะทำให้แผลลุกลามยิ่งขึ้น
- ห้ามดึงหนังหรืออะไรก็ตามที่ติดแผลอยู่ออก เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อ ฉีกขาด อาจทำให้สูญเสียน้ำและ shock ได้
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย และไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์ ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากร่างกายจะอาศัยการหอบ (Panting) เป็นหลัก แต่ในขณะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ และบริเวณที่สุนัขอยู่มีการระบายอากาศไม่ดี จะมีผลทำให้สุนัขระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทันส่งผลให้มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติมาก โดยเฉพาะในรายที่ถูกกักขัง และไม่ได้กินนํ้า หรือในสุนัขพันธุหน้าสั้นที่มีข้อจำกัดในเรื่องการระบายความร้อน ออกทางการหายใจ เนื่องจากโพรงจมูกเล็กแคบ
อาการเริ่มต้นที่จะพบเห็นได้คือ การหอบ และจะเพิ่มอัตราเร็วขึ้นเรื่อยๆ สุนัขจะซึม มีนํ้าลายไหลออกมามาก หัวใจ (ชีพจร) เต้นเร็ว เหงือกเป็นสี แดงสด ปลายเท้า หัว หูจะร้อน บางรายถ่ายเหลวเป็นนํ้ามีเลือดปน อาจรุนแรง ถึงหมดสติและตายได้
การรักษา
- เคลื่อนย้ายสุนัขไปยังที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวกและเย็นกว่า เช็ดนํ้าลายออกจากปากเพื่อหายใจสะดวก
- จุ่มตัวสุนัขลงในนํ้าเย็น (ธรรมดา) หรือเปิดให้นํ้าก๊อกไหลผ่านตัว และหัว (อย่าให้เข้าจมูก) หรือใช้ผ้าชุบนํ้าเย็นเช็ดตัว และให้สุนัข ดื่มนํ้าเองได้ตามต้องการ
- นำส่งสัตวแพทย์
สุนัขกัดกันมักจะพบบาดแผลบริเวณคอ หน้าอก ใบหน้า หู รูเขี้ยวที่ ทะลุผิวหนังจากภายนอกอาจดูเหมือนไม่รุนแรง แต่ความจริงแล้วเนื้อเยื่อและ กล้ามเนื้อบริเวณใต้ผิวหนังตรงนั้นอาจบอบชํ้ามาก และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ รุนแรงตามมา ถ้าแผลกว้างและลึกควรนำไปพบสัตวแพทย์ การปฐมพยาบาลทำได้โดย
- ทำการห้ามเลือดในกรณีที่มีเลือดออกมาก
- ตัดขนบริเวณรอบปากแผลออก
- ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ทาครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับแผลสด ปิดปากแผล
แมลงต่อย ผึ้งและตัวต่อ
ทำให้เกิดการบวมและเจ็บปวด มักจะพบบริเวณอุ้งเท้า ปาก และหน้า โดยเฉพาะถ้าถูกต่อยภายในปากและทำให้เกิดการบวมของคอหอยจะทำให้ หายใจไม่ออก สุนัขบางตัวมีอาการแพ้พิษของผึ้งและตัวต่อค่อนข้างรุนแรง มี การบวมตามใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย อาเจียน ท้องร่วง หน้าบวม คอบวม หายใจไม่ ออก ตาย ดังนั้นต้องรีบนำส่งสัตวแพทย์โดยเร็ว โดยเฉพาะในรายที่ถูกต่อย ภายในช่องปากและลำคอ
การดูแลเบื้องต้น
- ถ้าเป็นไปได้ให้พยายามดึงเหล็กในออก
- ใช้นํ้าแข็งประคบบริเวณที่บวมจะช่วยลดอาการได้
- นำส่งสัตวแพทย์
คางคกและตัวบุ้ง
คางคกจะหลั่งสารพิษออกจากต่อมที่อยู่ตามผิวหนัง ซึ่งสารพวกนี้จะ ก่อให้เกิดความระคายเคืองไปจนถึงภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ส่วนตัวบุ้งชนิดมีขน ยาวก็จะมีสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอยู่ตามผิว สำตัว และขน สุนัขมักจะได้รับพิษโดยการสัมผัสโดยเฉพาะบริเวณปาก ลิ้น
อาการ พิษคางคก – นํ้าลายไหลยืด ม่านตาขยายกว้าง ถ้าได้รับพิษมาก และ ทึ้งไว้ นานอาจชักหมดสติและตายได้ พิษตัวบุ้ง – ทำให้เกิดการระคายเคือง นํ้าลายไหล มีตุ่มบวม
การดูแลเบื้องต้น
- ใช้นํ้าสะอาดฉีดล้างบริเวณปากสุนัขทันที แต่ระวังอย่าให้สุนัขสำลัก หรือกลืนนํ้าเข้าไป (ใช้กระบอกฉีดพ่นสเปรย์จะปลอดภัย กว่าใช้สายยาง)
- นำส่งสัตวแพทย์ทันที
งูกัด
อาการที่สังเกตได้และสงสัยว่าสุนัขอาจจะโดนงูพิษกัด ได้แก่ ตัวสั่น ตื่นเต้น อาเจียน นํ้าลายไหลมาก ม่านตาขยาย หรือล้มฟุบลงทันทีทันใด ควร สำรวจตามร่างกายสุนัขว่ามีรอยเขี้ยว 2 รอยหรือไม่ ถ้าพบต้องรบนำส่งสัตวแพทย์ทันที
ข้อควรปฏิบัติ
- ปลอบสุนัขให้หายตื่นกลัว
- ล้างแผลและบริเวณรอยกัดด้วยนํ้าสะอาดมากๆ เพื่อล้างเอาพิษที่ติด อยู่กับผิวออก
- ห้ามกรีดแผลให้กว้าง หรือพยายามดูดพิษออก เพราะจะทำให้มี เลือดไหลเวียนมาที่แผลมากขึ้นเป็นการเร่งการกระจายพิษ
- ใช้นํ้าแข็งประคบ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด
- ถ้าถูกกัดบริเวณขา ควรใช้ผ้าพันรอบบริเวณนั้นให้แน่น (รูปที่ 112) เพื่อชะลอการกระจายของพิษ (การขันชะเนาะใช้ไม่ได้ผล)
- นำส่งสัตวแพทย์ทันทีเพื่อฉีดเซรุ่มแก้พิษงู
แมงกระพรุนและหอยเม่น อาการ
สุนัขมักจะแสดงอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงภายหลังจากการเล่นนํ้าทะเล
การดูแลเบื้องต้น
- หาเหล็กในและดึงออก
- ให้ยาแก้ปวด (aspirin) 1 เม็ดต่อนํ้าหนักตัว 30 กิโลกรัม
- ใช้แอมโมเนียเจือจาง 1 ส่วนต่อนํ้า 10 ส่วน ราดบริเวณที่ปวด
- ทำให้ร่างกายสุนัขอบอุ่น และนำส่งสัตวแพทย์
สารพิษ
สารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกิน การหายใจ และซึมผ่าน ผิวหนัง แต่ที่พบบ่อยๆ มักเกิดจากการกิน สุนัขที่ได้รับสารพิษอาจมีอาการ นํ้าลายฟูมปาก อาเจียน ท้องเสีย เดินโซเซ กล้ามเนื้อกระตุก ล้มฟุบ ชัก และ หมดสติ
ข้อควรปฏิบติ
- เมื่อพบเห็นสุนัขกำลังกินสารพิษอยู่ ให้ควบคุมสุนัขไว้ นำสุนัข พร้อมภาชนะบรรจุสารนั้นส่งสัตวแพทย์ทันที
- ในกรณีที่ไม่ได้สังเกตเห็นว่าสุนัขกินสารพิษหรือเปล่า แต่แสดงอาการน่าสงสัยว่าจะเกิดจากสารพิษ ให้นำส่งสัตวแพทย์ทันที
- การทำให้อาเจียนทันที (ภายใน 1 ชั่วโมงหลังกินสารพิษ) เป็นการลดปริมาณของสารพิษที่จะทำให้ร่างกายดูดซึมเข้าไป แต่มีข้อจำกัด ว่าสารที่กินเข้าไปนั้นต้องไม,ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อทางเดินอาหารไม่เช่นนั้นแล้วยิ่งจะเป็นการไปเพมความรุนแรงของพิษ ทางที่ดีที่สุดถ้าเราไม่รู้ว่าสารชนิดนั้นเป็นอะไรก็ไม่ควรทำให้สุนัขอาเจียน ควรนำส่งสัตวแพทย์ทันที

บริการฝึกและฝากเลี้ยงสุนัขทุกสายพันธ์แก้ไขพฤติกรรมทุกพฤติกรรมตามที่เจ้าของต้องการ
ด้วย 2 ใบประกาศหลักสูตรครูฝึกสุนัขตำรวจและวิทยากรระดับนานาชาติเกี่ยวกับหัวข้อพฤติกรรมของมนุษย์กับสุนัข รวมทั้งให้ความรู้ในคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสัตว์เลี้ยงชั้นแนวหน้าหลายฉบับอาทิ สื่อรักสัตว์เลี้ยง,แหล่งสัตว์เลี้ยงและช่วยเหลือสุนัขในโครงการฝึกสุนัขไร้บ้านให้มีบ้านอยู่
บริการฝึกและฝากเลี้ยงสุนัขทุกสายพันธ์แก้ไขพฤติกรรมทุกพฤติกรรมตามที่เจ้าของต้องการ