ฝึกสุนัข ปรึกษาพฤติกรรมสุนัขดุและพฤติกรรมสุนัขทุกพฤติกรรม ครูฝึกสุนัขตำรวจK9 0870062828

สุนัขป่วย กับการปฐมพยาบาลและการดูแล

การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่สุนัขป่วย เพื่อลดการบาดเจ็บและความรุนแรงของอาการ

Home / การฝึกสุนัข

หมาป่วย

การปฐมพยาบาลสุนัขป่วย

เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่สุนัข เพื่อลดการบาดเจ็บ และความรุนแรงของอาการ รวมถึงอาจช่วยชีวิตสุนัขได้ในกรณีฉุกเฉินก่อน หรือในระหว่างที่กำลังนำ สุนัขป่วย ส่งสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตามการเสียเวลากับการปฐมพยาบาลมากเกินความจำเป็นก็อาจเป็นผลเสียได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ ต้องทำต่อไปโดยเร็วคือการส่งให้ถึงสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด

ถึงแม้ว่าสุนัขมีคุณสมบัติในการฟื้นตัวจาก การเจ็บป่วยได้มากเมื่อเทียบกับมนุษย์ แต่เจ้าของ สุนัขก็ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การเจ็บป่วยหายได้ รวดเร็วขึ้น โดยการเอาใจใส่ดูแลที่ดีของเจ้าของ จัด ให้สุนัขป่วยอยู่ในสภาวะที่สะดวก สบาย และ เหมาะสม

สิ่งสำคัญที่สุด 3 อย่างที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ

  1. การได้พักผ่อนและความสะดวกสบาย
  2. การได้รับอาหารและนํ้าอย่างพอเพียง
  3. ได้รับยาครบตามที่สัตวแพทย์สั่ง

โดยให้สุนัขป่วยได้พักในสถานที่ที่อบอุ่น และเงียบสงบ ไม่ร้อนหรือ เย็นเกินไป มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ปล่อยให้สุนัขได้ออกจากบ้านได้ บ่อยกว่าปกติเพื่อถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกระตุ้น การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร แต่ต้องระวังไม่ให้ออกกำลังกายหนักๆ หรือ เล่นเกมที่ตื่นเต้นมากเกินไป

ลมโกรกและอากาศเย็นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ พื้นบ้านบริเวณที่สุนัขนอน ควรมีสิ่งรองนอนเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น

การให้อาหารควรให้คราวละน้อยๆ แต่บ่อยๆ อาหารควรเป็นชนิดที่ ย่อยง่าย มีรสชาดและกลิ่นหอมน่ากินเพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร แต่ใน บางกรณี เช่น มีอาการท้องเสีย อาเจียน อาจจำเป็นต้องงดอาหาร หรือในบางครั้งถ้าจำเป็นจริงๆสุนัขไม่ยอมกินอะไรเลยอาจจะต้องป้อน (Force feeding) โดยการเลือกอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ ป้อนเข้าปากในวิธีการเดียวกับการป้อนยาเม็ด หรืออาจให้อาหารเหลวในวิธีการเดียวกับการป้อนยานํ้า แต่ต้อง ระมัดระวังค่อนข้างมาก และต้องแน่ใจว่าสุนัขกลืนอาหารได้ไม่อย่างนั้นแล้ว อาหารเหลวอาจจะถูกสำลักเข้าไปในปอดได้

ในกรณีที่สุนัขไม่ยอมกินอาหารและน้ำเลย อาจใช้กลูโคสละลายน้ำ หรือใช้นมป้อน (ยกเว้นในรายท้องเสียห้ามป้อนนมเด็ดขาด) โดยประมาณว่า สุนัขควรได้รับน้ำอย่างน้อย 50 มิลลิลิตรต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งควรจะแบ่งให้ครั้งละน้อยๆ เช่น 4 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ควรหยดวิตามินรวม สำหรับเด็ก (multi-vitamin for children) 5-10 หยดลงในสั่งที่ป้อนด้วย ถ้าจะให้ดีกว่านี้ควรปรึกษาลัตวแพทย์เพื่อจะได้วางแผนในการเลือกชนิดอาหารให้ เหมาะสมกับโรคและการรักษาควรคู่ไปด้วย

  1. ประเมินอาการ
  2. ช่วยผายปอดในกรณีสุนัขหยุดหายใจ
  3. ช่วยนวดหัวใจ ในกรณีหัวใจหยุดเต้น
  4. ห้ามเลือด
  5. หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนส่วนที่หักหรือบาดแผล

ควรสังเกตสิ่งต่อไปนี้เพื่อประเมินอาการของสุนัข ก่อนลงมือให้ความ ช่วยเหลือ

  1. ถ้าสุนัขยังมีสติ ควรจะสังเกตถึงบาดแผลว่าต้องมีการห้ามเลือด

หรือไม่

  1. ถ้าสุนัขหมดสติ ควรรบดูสิ่งต่อไปนี้ก่อน
    • การหายใจ โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก
    • การเต้นของหัวใจ สามารถทำได้2 อย่างคือ
  2. ใช้ฝ่ามือแตะลงไปบริเวณหน้าอกในตำแหน่งของหัวใจ (ตรงกับปุมของข้อศอก)
  3. ใช้การคลำจับชีพจรที่บริเวณโคนขาหลังด้านใน
    • ตรวจดูการตอบสนอง
  4. การตอบสนองของตา
  • หนังตา โดยใช้นิ้วแตะที่หัวตาเบาๆ ดูว่าสุนัขกระพริบตาหรือไม่
  • ม่านตา โดยใช้ไฟฉายส่อง เมื่อโดนแสง ช่องม่านตา ควรจะหดเล็กลง
  1. การตอบสนองของปลายเท้า โดยการหยิกบริเวณอุ้งเท้า (ผิวหนังระหว่างง่ามนิ้วเท้า) สังเกตลูว่าสุนัขชักเท้าหนี หรือไม่

ในกรณีอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ อาจทำให้เกิดภาวะการหายใจและ การทำงานของหัวใจล้มเหลว ซึ่งจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการทำให้หัวใจเต้นใหม่ และสุนัขหายใจได้ด้วยตัวเองโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้น โอกาสรอดจะน้อยมาก เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง และเกิดการเสียหาย ของเนื้อเยื่อสมอง

ขั้นตอนในการปฏิบัติมี 3 ขั้นตอน

  1. เปิดทางเดินหายใจ (Airway) เป็นการช่วยทำให้สุนัขหายใจได้ สะดวกขึ้น โดยการจับสุนัขนอนตะแคงและจัดคอให้ยืดตรง เปิด ปาก ดึงลิ้นออกจากปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ม้วนลงไปอุดหลอดลม แล้วล้วงเอาสิ่งแปลกปลอม (เช่นนํ้าลาย เสมหะ หรือเลือด) ออกจากช่องปากและคอหอย
  2. ช่วยหายใจ (Breathing) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก กับภายในปอด และกระตุ้นให้สุนัขหายใจเอง โดยใช้มือรวบรอบจมูกและปาก เป่าลมเข้าไปในช่องจมูกนาน 3 วินาที (สังเกตว่าช่องอกควรขยายขึ้น) หยุดพัก 2 วินาที (ในกรณีที่หัวใจยังเต้นอยู่) และทำซํ้า
  3. นวดหัวใจ (Cardiac) เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นใหม่ โดยการวางมือบนอกสุนัขหลังข้อศอก (ตำแหน่งของหัวใจ) แล้ววางมืออีกข้างทับ แล้วกดมือทั้งสองลงโดยเอนตัวไปข้างหน้า ทำติดต่อกัน 6 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 วินาที (ในกรณีสุนัขเล็กไม่สามารถวางมือบนอกได้ ให้ใข้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือวางบนอกคนละข้างแล้วบีบเป็นจังหวะ) เมื่อนวดหัวใจจนครบ 6 ครั้งแล้ว ให้ผายปอดโดยวิธี ปากต่อจมูก 1 ครั้ง ทำเช่นนี้สลับกันไปจนกว่าหัวใจจะเต้นแล้วจึง ผายปอดอย่างเดียวจนกว่าสุนัขจะหายใจได้เอง
  4. จะเห็นได้ว่าการช่วยชีวิตนั้นก็คือการที่เราช่วยทำงานแทนสุนัขเพื่อให้ มีออกซิเจน และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ในขณะที่สุนัขไม่สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง เราต้องทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งหัวใจสามารถเต้นได้เอง และสุนัขหายใจได้เอง

ในกรณีการนวดหัวใจดำเนินไปแล้วไม่น้อยกว่า 10 นาที แต่หัวใจยัง ไม่เต้นเอง เราอาจจะตัดสินใจหยุดทำการช่วยชีวิตไต้ ส่วนในกรณีที่หัวใจเต้น อยู่แต่ยังไม่หายใจ เราควรจะช่วยผายปอดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงมือลัตวแพทย์

 

กรณีนี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเนื่องจากสุนัขสามารถว่ายนํ้าได้โดย สัญชาตญาณ แต่ในบางครั้งอาจพบในรายที่ป่วยไม่มีแรงแล้วพลัดตกนํ้า หรือใน รายที่ว่ายออกไปจากฝังไกลๆแล้วหมดแรงว่ายกลับเข้ามา

การช่วยเหลือ

  1. เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากปากและ คอหอยให้หมด
  2. เอาหัวห้อยลงเพื่อให้นํ้าไหลออกจาก ปอด ในสุนัขเล็กอาจจับขาหลังสอง ข้างยกชูขึ้น และเหวี่ยงเบาๆ ส่วน สุนัขขนาดใหญ่ให้วางหัวสุนัขต่ำกว่าลำตัว ยกขาหลังขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลานานอย่างน้อย 30 วินาที
  3. ทำการผายปอดจนกว่าสุนัขจะหายใจ ได้เอง และนำส่งลัตวแพทย์
  1. นำสุนัขออกไปสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ และการถ่ายเทอากาศดี
  2. ถ้าสุนัขหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการช่วยชีวิต
  3. นำสุนัขส่งลัตวแพทย์อย่างเร่งด่วน

 

ถ้าสุนัขไม่สามารถลุกเดินเองได้ให้ใช้ผ้าห่มหรือแผ่นกระดานค่อยๆ สอดเข้าด้านล่างของตัวสุนัขทำเป็นเปลสำหรับหาม ถ้าสุนัขเดินเองได้ก็ช่วยประคองส่วนอก และบั้นท้ายให้สุนัขเดินไปอยู่ ในที่ปลอดภัย หรืออาจใช้’วิธีอุ้มโดยช้อนส่วนอกและบั้นท้าย ควรหันด้านที่มี แผล บาดเจ็บ หรือขาข้างที่หักออกจากตัวผู้อุ้ม

ข้อควรคำนึง สุนัขที่ประสบอุป้ติเหตุอาจได้รับความกระทบกระเทือน ภายในทำให้มีการตกเลือดภายใน โดยที่ไม่มีแผลที่สังเกตได้จากภายนอก

บาดแผลที่มีเลือดสีแดงสดพุ่งออกมาแสดงถึงเส้นเลือดแดงฉีกขาด ต้องรีบทำการห้ามเลือดเพื่อป้องกันการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ส่วนเลือดสีแดงคลํ้าค่อยๆ ซึมเยิ้มออกมาแสดงถึงการฉีกขาดของเส้นเลือดดำ ซึ่งมักจะง่ายต่อการห้ามเลือดมากกว่า อย่างไรก็ตามในกรณีที่พบว่ามีเลือดออกต้องนำส่งสัตวแพทย์โดยด่วนไม่ว่าจะทำการห้ามเลือดแล้วหรือไม่ก็ตาม

การห้ามเลือดสามารถทำได้โดยการใช้มือกำรอบเหนือบริเวณแผลซึ่งเป็นการห้ามเลือดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน หรือการใช้แรงกดที่บริเวณแผล 3-5 นาที อาจใช้นี้วมือกดได้ในกรณีที่แผลไม่ใหญ่มากและสุนัขไม่แว้งกัด ถ้าจะให้ ดีควรใช้การพันผ้ากดแผล (Pressure bandage) ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ผ้าก๊อซ (gauze) ผ้ห้เาย ผ้าเช็ดหน้า พับให้เป็นแผ่นวางปีดไว้ที่แผล ก่อนวางผ้าปิดที่แผลควรทาแผลด้วยครีมทาแผลสดเพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลแห้งติดกับ บาดแผลในภายหลัง จากนั้นใช้ผ้าพันทับไวให้กระชับไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ในกรณีที่เลือดออกจนชุ่มผ้าผืนแรก ให้ใช้ผ้าอีกผืนวางทับไปอีกชั้นหนั้ง โดยไม่ต้องเอาผ้าผืนแรกออก เพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนขบวนการแข็งตัว ของเลือด หลังจากพันแผลเสร็จแล้วต้องคอยสังเกตว่าอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าจุดที่พันแผลลงไปมีอาการบวมหรือไม่ ถ้าบวมแสดงถึงการพันแน่นเกินไป จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ ควรคลายผ้าพันแผลออกเล็กน้อย ถ้ายังไม่หายบวมต้องถอดผ้าพันแผลออก

นอกจากการพันแผลแล้ว การห้ามเลือดอีกวิธีหนึ่งที่อาจใช้ได้ก็คือการ ขันชะเนาะ (Tourniquets) ซึ่งมักจะใช้ในกรณีมีเลือดออกมากบริเวณปลายขา โดยขันชะเนาะที่เหนือบาดแผล การขันชะเนาะจะต้องมีการคลายทุกๆ 10 นาที เพื่อเปิดโอกาสให้เลือดได้ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายขาได้ ถึงแม้จะมีการคลาย บ่อยๆ แต่บางครั้งก็ยังมีโอกาสจะเกิดการเสียหายของเนื้อเยื่อเนื่องจากการขาดเลือด ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องรีบนำไปพบลัตวแพทย์โดยด่วน ในสุนัขส่วนใหญ่มักจะไม่ยินยอมให้ขันชะเนาะ ดังนั้นการใช้ผ้าพันกดทับแผลจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้มากกว่า

 

ให้สังเกตว่าเป็นเลือดออกจากบาดแผลหรือเป็นเลือดกำเดา ถ้าเป็นเลือดจากบาดแผลก็อาจใช้นิ้วหัวแม่มือกดห้ามเลือด ถ้าเป็นเลือดกำเดาให้ใช้ผ้า ชุบนํ้าเย็นหรือผ้าห่อก้อนนํ้าแข็งวางโปะบนสันจมูก ถ้าสุนัขไม่ยินยอมหรือ แสดงอาการหงุดหงิดควรจะหยุดกระทำการห้ามเลือดไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ สถานการณ์แย่ลงไปอีก ควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันทีเนื่องจากเลือดกำเดา ไหลอาจมีสาเหตุได้ตั้งแต่เส้นเลือดแดงในโพรงจมูกแตก มีสิ่งแปลกปลอมใน โพรงจมูก หรือรุนแรงจนถึงเป็นเนื้องอก และการได้รับสารพิษกลุ่มที่ทำลาย เม็ดเลือด เช่น warfarin poisoning

เป็นกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะที่ ปริมาณเลือดไม่มีเพียงพอกับการไหลเวียนไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ  (โดยเฉพาะที่บริเวณอวัยวะส่วนปลาย) ชั่วขณะ เกิดการส้มเหลวในการควบคุมความดันและ การไหลเวียนเลือด และสุดท้ายหัวใจก็จะหยุดเต้น

สาเหตุของ Shock

  1. การได้รับบาดเจ็บรุนแรง (ตกจากที่สูง, รถชน, ถูกเตะ ฯลฯ)
  2. เสียเลือดมาก
  3. ท้องเสียรุนแรง
  4. อาเจียนรุนแรง
  5. ถลอก, ฟกชํ้าอย่างรุนแรง
  6. เลือดเป็นพิษ (จากการติดเชื้อ หรือสารพิษต่างๆ)
  7. ท้องอืด (bloat) เนื่องจากกระเพาะอาหารบิดตัว
  8. โรคหัวใจระยะท้ายๆ

อาการ

เหงือกซีด เย็น, หายใจเร็วแผ่ว, ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา, สุนัขอาจนอน แน่นิ่ง หมดสติ อุณหภูมิร่างกายลด ตา ปลายเท้าและใบหูเย็น ลิ้นเหี่ยวแห้งย่น

การช่วยเหลือ

  • ควรปลอบให้สุนัขสงบ และห่มผ้าให้อบอุ่น
  • ห้ามให้นํ้าหรืออาหารเด็ดขาด
  • นำส่งสัตวแพทย์อย่างรีบด่วน

เนื่องจากผิวหนังสุนัขมีขนปกคลุมทำให้เราสังเกตความเสียหายของ เนื้อเยื่อเนื่องจากไฟไหม้ นํ้าร้อนลวกได้ไม่เด่นชัด ถ้าไม่คลี่ขนหรือตัดขนออก แผลไฟไหม้นํ้าร้อนลวกที่กินบริเวณกว้างบนร่างกายอาจเป็นสาเหตุให้เกิด อาการอื่นๆ ตามมา เช่น shock ขาดนํ้า (dehydration) หรือมีการติดเชื้ออย่าง รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นแผลที่สร้างความเจ็บปวดรุนแรงให้กับสุนัขมาก การสัมผัสบริเวณแผลจึงต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

การรักษา

หลักในการรักษาคือลดความเสียหายของเนื้อเยื่อโดยการใช้ความเย็น ทันที เป็นเวลาประมาณ 5-15 นาที ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ราดบริเวณนั้นด้วยนํ้าเย็นหรือจับสุนับจุ่มลงในนํ้าเย็นทันที
  • เปิดนั้าก๊อกให้ไหลผ่านบริเวณนั้นเบาๆ
  • ให้ผ้าชุดนํ้าเย็นประคบ แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดการถูหรือขูดบริเวณแผล

ข้อพึงระวัง

  • ห้ามถูบริเวณแผลเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น
  • ห้ามทาครีม หรือเจลทาแผล เพราะจะทำให้ความร้อนคั่งค้างอยู่ ซึ่ง เป็นการเพิ่มความเสียหายของเนื้อเยื่อ ยิ่งไปกว่านั้นสุนัขจะเสียสิ่งที่ เราทาแผล จะทำให้แผลลุกลามยิ่งขึ้น
  • ห้ามดึงหนังหรืออะไรก็ตามที่ติดแผลอยู่ออก เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อ ฉีกขาด อาจทำให้สูญเสียน้ำและ shock ได้



สุนัขเป็นสัตว์ที่มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย และไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์ ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากร่างกายจะอาศัยการหอบ (Panting) เป็นหลัก แต่ในขณะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ และบริเวณที่สุนัขอยู่มีการระบายอากาศไม่ดี จะมีผลทำให้สุนัขระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทันส่งผลให้มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติมาก โดยเฉพาะในรายที่ถูกกักขัง และไม่ได้กินนํ้า หรือในสุนัขพันธุหน้าสั้นที่มีข้อจำกัดในเรื่องการระบายความร้อน ออกทางการหายใจ เนื่องจากโพรงจมูกเล็กแคบ

อาการเริ่มต้นที่จะพบเห็นได้คือ การหอบ และจะเพิ่มอัตราเร็วขึ้นเรื่อยๆ สุนัขจะซึม มีนํ้าลายไหลออกมามาก หัวใจ (ชีพจร) เต้นเร็ว เหงือกเป็นสี แดงสด ปลายเท้า หัว หูจะร้อน บางรายถ่ายเหลวเป็นนํ้ามีเลือดปน อาจรุนแรง ถึงหมดสติและตายได้

การรักษา

  1. เคลื่อนย้ายสุนัขไปยังที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวกและเย็นกว่า เช็ดนํ้าลายออกจากปากเพื่อหายใจสะดวก
  2. จุ่มตัวสุนัขลงในนํ้าเย็น (ธรรมดา) หรือเปิดให้นํ้าก๊อกไหลผ่านตัว และหัว (อย่าให้เข้าจมูก) หรือใช้ผ้าชุบนํ้าเย็นเช็ดตัว และให้สุนัข ดื่มนํ้าเองได้ตามต้องการ
  3. นำส่งสัตวแพทย์

สุนัขกัดกันมักจะพบบาดแผลบริเวณคอ หน้าอก ใบหน้า หู รูเขี้ยวที่ ทะลุผิวหนังจากภายนอกอาจดูเหมือนไม่รุนแรง แต่ความจริงแล้วเนื้อเยื่อและ กล้ามเนื้อบริเวณใต้ผิวหนังตรงนั้นอาจบอบชํ้ามาก และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ รุนแรงตามมา ถ้าแผลกว้างและลึกควรนำไปพบสัตวแพทย์ การปฐมพยาบาลทำได้โดย

  1. ทำการห้ามเลือดในกรณีที่มีเลือดออกมาก
  2. ตัดขนบริเวณรอบปากแผลออก
  3. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และน้ำยาฆ่าเชื้อ
  4. ทาครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับแผลสด ปิดปากแผล

แมลงต่อย ผึ้งและตัวต่อ

ทำให้เกิดการบวมและเจ็บปวด มักจะพบบริเวณอุ้งเท้า ปาก และหน้า โดยเฉพาะถ้าถูกต่อยภายในปากและทำให้เกิดการบวมของคอหอยจะทำให้ หายใจไม่ออก สุนัขบางตัวมีอาการแพ้พิษของผึ้งและตัวต่อค่อนข้างรุนแรง มี การบวมตามใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย อาเจียน ท้องร่วง หน้าบวม คอบวม หายใจไม่ ออก ตาย ดังนั้นต้องรีบนำส่งสัตวแพทย์โดยเร็ว โดยเฉพาะในรายที่ถูกต่อย ภายในช่องปากและลำคอ

 การดูแลเบื้องต้น

  1. ถ้าเป็นไปได้ให้พยายามดึงเหล็กในออก
  2. ใช้นํ้าแข็งประคบบริเวณที่บวมจะช่วยลดอาการได้
  3. นำส่งสัตวแพทย์

คางคกและตัวบุ้ง

คางคกจะหลั่งสารพิษออกจากต่อมที่อยู่ตามผิวหนัง ซึ่งสารพวกนี้จะ ก่อให้เกิดความระคายเคืองไปจนถึงภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ส่วนตัวบุ้งชนิดมีขน ยาวก็จะมีสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอยู่ตามผิว สำตัว และขน สุนัขมักจะได้รับพิษโดยการสัมผัสโดยเฉพาะบริเวณปาก ลิ้น

อาการ พิษคางคก – นํ้าลายไหลยืด ม่านตาขยายกว้าง ถ้าได้รับพิษมาก และ ทึ้งไว้ นานอาจชักหมดสติและตายได้ พิษตัวบุ้ง – ทำให้เกิดการระคายเคือง นํ้าลายไหล มีตุ่มบวม

การดูแลเบื้องต้น

  1. ใช้นํ้าสะอาดฉีดล้างบริเวณปากสุนัขทันที แต่ระวังอย่าให้สุนัขสำลัก หรือกลืนนํ้าเข้าไป (ใช้กระบอกฉีดพ่นสเปรย์จะปลอดภัย กว่าใช้สายยาง)
  1. นำส่งสัตวแพทย์ทันที

งูกัด

อาการที่สังเกตได้และสงสัยว่าสุนัขอาจจะโดนงูพิษกัด ได้แก่ ตัวสั่น ตื่นเต้น อาเจียน นํ้าลายไหลมาก ม่านตาขยาย หรือล้มฟุบลงทันทีทันใด ควร สำรวจตามร่างกายสุนัขว่ามีรอยเขี้ยว 2 รอยหรือไม่ ถ้าพบต้องรบนำส่งสัตวแพทย์ทันที

ข้อควรปฏิบัติ

  1. ปลอบสุนัขให้หายตื่นกลัว
  2. ล้างแผลและบริเวณรอยกัดด้วยนํ้าสะอาดมากๆ เพื่อล้างเอาพิษที่ติด อยู่กับผิวออก
  3. ห้ามกรีดแผลให้กว้าง หรือพยายามดูดพิษออก เพราะจะทำให้มี เลือดไหลเวียนมาที่แผลมากขึ้นเป็นการเร่งการกระจายพิษ
  4. ใช้นํ้าแข็งประคบ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด
  5. ถ้าถูกกัดบริเวณขา ควรใช้ผ้าพันรอบบริเวณนั้นให้แน่น (รูปที่ 112) เพื่อชะลอการกระจายของพิษ (การขันชะเนาะใช้ไม่ได้ผล)
  6. นำส่งสัตวแพทย์ทันทีเพื่อฉีดเซรุ่มแก้พิษงู

แมงกระพรุนและหอยเม่น อาการ

สุนัขมักจะแสดงอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงภายหลังจากการเล่นนํ้าทะเล

การดูแลเบื้องต้น

  1. หาเหล็กในและดึงออก
  2. ให้ยาแก้ปวด (aspirin) 1 เม็ดต่อนํ้าหนักตัว 30 กิโลกรัม
  3. ใช้แอมโมเนียเจือจาง 1 ส่วนต่อนํ้า 10 ส่วน ราดบริเวณที่ปวด
  4. ทำให้ร่างกายสุนัขอบอุ่น และนำส่งสัตวแพทย์

สารพิษ

สารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกิน การหายใจ และซึมผ่าน ผิวหนัง แต่ที่พบบ่อยๆ มักเกิดจากการกิน สุนัขที่ได้รับสารพิษอาจมีอาการ นํ้าลายฟูมปาก อาเจียน ท้องเสีย เดินโซเซ กล้ามเนื้อกระตุก ล้มฟุบ ชัก และ หมดสติ

ข้อควรปฏิบติ

  1. เมื่อพบเห็นสุนัขกำลังกินสารพิษอยู่ ให้ควบคุมสุนัขไว้ นำสุนัข พร้อมภาชนะบรรจุสารนั้นส่งสัตวแพทย์ทันที
  2. ในกรณีที่ไม่ได้สังเกตเห็นว่าสุนัขกินสารพิษหรือเปล่า แต่แสดงอาการน่าสงสัยว่าจะเกิดจากสารพิษ ให้นำส่งสัตวแพทย์ทันที
  1. การทำให้อาเจียนทันที (ภายใน 1 ชั่วโมงหลังกินสารพิษ) เป็นการลดปริมาณของสารพิษที่จะทำให้ร่างกายดูดซึมเข้าไป แต่มีข้อจำกัด ว่าสารที่กินเข้าไปนั้นต้องไม,ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อทางเดินอาหารไม่เช่นนั้นแล้วยิ่งจะเป็นการไปเพมความรุนแรงของพิษ ทางที่ดีที่สุดถ้าเราไม่รู้ว่าสารชนิดนั้นเป็นอะไรก็ไม่ควรทำให้สุนัขอาเจียน ควรนำส่งสัตวแพทย์ทันที

 

ฝึกสุนัข

บริการฝึกและฝากเลี้ยงสุนัขทุกสายพันธ์แก้ไขพฤติกรรมทุกพฤติกรรมตามที่เจ้าของต้องการ

ด้วย 2 ใบประกาศหลักสูตรครูฝึกสุนัขตำรวจและวิทยากรระดับนานาชาติเกี่ยวกับหัวข้อพฤติกรรมของมนุษย์กับสุนัข รวมทั้งให้ความรู้ในคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสัตว์เลี้ยงชั้นแนวหน้าหลายฉบับอาทิ สื่อรักสัตว์เลี้ยง,แหล่งสัตว์เลี้ยงและช่วยเหลือสุนัขในโครงการฝึกสุนัขไร้บ้านให้มีบ้านอยู่
บริการฝึกและฝากเลี้ยงสุนัขทุกสายพันธ์แก้ไขพฤติกรรมทุกพฤติกรรมตามที่เจ้าของต้องการ